คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ


วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพุธ ที่25 กรกฎาคม 2555

**วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน  เนื่องจากฝนตก รถติด  จึงเป็นเหตุให้มาเข้าห้องเรียไม่ทัน**
.............................................................................................................................




ตามจากเพื่อน




...วันนี้อาจารย์  ให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมาพรีเซ้นงาน ของแต่ละกลุ่ม ที่ไปสัมภาษณ์ และดูพฤติกรรมเด็ก
....แล้วให้เพื่อนในห้อง เป็นผู้วิเคราะห์เนื้อหา  สลับกัน วิเคราะห์ของแต่ละกลุ่ม จนหมดชั่วโมงเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่18กรกฎาคม2555

***วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนออกมาพรีเซนงาน แต่ว่าเปิดงานไม่ได้ เลยไม่ได้พรีเซน อาจารย์เลยแนะนำการสังเกตของผู้พูด บุคลิคในการพูด..


ลักษณะการพูดที่ดี


...มีถ้อยคำดี การพูดที่ใช้ถ้อยคำดีช่วยทำให้ผู้ฟังชื่นใจ
...มีความไพเราะ พูดจาสุภาพอ่อนหวาน มีหางเสียง ไม่กระโชกโฮกฮาก และไม่ขู่ตะคอก
... ต้องรู้ว่าเวลานี้ควรพูดหรือไม่ 
...มีความมุ่งหมาย การรู้ว่าพูดทำไม เพื่ออะไร 
...ม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ เพ้อเจ้อ


บุคลิกในการยืน


...ยืนตัวตรง ไม่ก้มหรือเงยหน้าเกินไป
...เวลาพูด สบตากับผู้พูด
...ไม่แกว่งมือ ไป-มา
...แต่งกายสุภาพ และเหมาะสมกับสถานที่


วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่20มิถุนายน2555


วันพุธที่20มิถุนายน2555

วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่ม123


ปฐมนิเทศน์
-ระเบียบข้อตดลงในการเข้าห้องเรียน
-การแต่งกายให้เรียบร้อย ใส่รองเท้าหุ้มส้น สีดำ
-เข้าเรียนเกิน8.40 ถือว่าสาย
-ย้ายห้องเรียนไปเรียนที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์ ห้อง234 ...
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
    การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก มีวิธีการมากมายที่ควรจัดให้ ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ ไม่มีวิธีการจัดประสบการณ์วิธีใดดีที่สุด แต่ละวิธีจะมีข้อดีและข้อเสีย ซึ่งการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม ต้องขึ้นอยู่กับหลายประการด้วยกัน


1. การจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการหรือทดลอง  การจัดประสบการณ์วิธีนี้ เด็กจะเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำช่วยเหลือ เด็กทุกคนจะมีโอกาสได้เรียนรูจากการปฏิบัติจริง ได้จัดกระทำกับวัสดุอุปกรณ์ และศึกษาด้วยตนเอง เช่น การทดลองการลอยและจม การเกิดรุ้งกินน้ำ การปลูกถั่วงอก การผสมสี เป็นต้น

2. การจัดประสบการณ์โดยการเล่านิทาน  จะเป็นการนำเรื่องราวของนิทานมาเล่าสู่กันฟัง เด็กจะได้รับความสนุกสนานจากนิทาน และยังสามารถสอดแทรกความคิด คุณธรรมที่ดีงามให้แก่เด็ก ซึ่งจะเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติตามที่ถูกที่ควร ในการดำรงชีวิตในสังคม

 3. การจัดประสบการณ์แบบการแสดงบทบาทสมมุติวิธีนี้จะเป็นการนำการแสดงบทบาทสมมุติมาใช้เป็นเครื่องมือและวิธีการในการสอนของครู เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจได้ลึกซึ้ง ซึ่งจะเป็นการสร้างสถานการณ์หรือสมมุติ โดยให้เด็กแสดงออกมาตามที่คิดและจินตนาการ หลังจากนั้นจะนำเอาการแสดงออก ทั้งที่เป็นความรู้และพฤติกรรมมาพูดคุยอภิปรายกัน เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ธนาคาร ร้านเสริมสวย ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

4. การจัดประสบการณ์แบบสาธิต ครูจะเป็นผู้ทำให้ดู ทำให้เห็น และมีการชี้แนะให้ทำตาม เช่น การจัดประสบการณ์เรื่อง การทำแผล การล้างผักหรือผลไม้ เป็นต้น

5. การจัดประสบการณ์โดยใช้เกม  การจัดประสบการณ์ในลักษณะนี้ เด็กๆ จะได้รับความสนุกสนาน แต่จะมีกฏเกณฑ์ กติกา เข้ามา อาจเป็นเกมที่เงียบหรือเกมที่ต้องใช้ความว่องไวในการเล่น การเล่นอาจเล่นเป็นกลุ่ม เล่นสองคน เล่นคนเดียว เกมการเล่นนี้ จะกระตุ้นการทำงานของสมองหรือร่างกาย หรืออาจฝึกทักษะบางส่วนของร่างกายและจิตใจเป็นพิเศษได้

       6. การจัดประสบการณ์แบบสนทนาอภิปราย  การจัดประสบการณ์วิธีนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างครูกับเด็ก หรือเด็กกับเด็กกันเองก็ได้ โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน แต่มีสิ่งที่ครูพึงระมัดระวังคือ ไม่ตอบปัญหาให้เด็กก่อนที่เด็กจะคิดตอบปัญหาด้วยตัวของเขาเอง ครูควรจะเป็นเพียงผู้แนะนำให้เด็กคิดไปตามลำดับ จนถึงจุหมายปลายทางที่ต้องการ นั่นคือ คำตอบ วิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ทำให้เด็กรู้จักคิดเป็น


7. การจัดประสบการณ์แบบศึกษานอกสถานที่
เป็นวิธีการจัดประสบการณ์ที่ครู พาเด็กๆไปศึกษาสภาพความเป็นจริง อาจเป็นนอกห้องเรียน รอบๆ บริเวณโรงเรียน หรือนอกโรงเรียน ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติให้กับเด็ก
 

8. การจัดประสบการณ์แบบเชิญวิทยากร เป็นการจัดประสบการณ์โดยการเชิญบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งอาจเป็นผู้ปกครองของเด็ก มาพูดคุยกับเด็กหรืออาจมาร่วมกิจกรรมกับเด็กในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก อาทิ แพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร พ่อค้าแม่ค้า ชาวนา บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น นอกจากนี้อาจเป็นบุคคลในอาชีพต่างๆ ที่เด็กรู้จักคุ้นเคย ทั้งนี้หัวข้อเรื่องที่วิทยากรจะมาพูดคุย ควรเป็นเรื่องที่เด็กๆ สนใจ
ค้นหารายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติมจากhttp://krunarm.blogspot.com/2011/12/blog-post_16.html

วันพุธที่11กรกฎาคม2555

ภาษาถิ่น


...ประเทศไทยมีกันอยู่หลายจังหวัด หลายภาษา ซึ่้งแต่ละภาคก็พูดแตกต่างกันไป ประเทสไทย แบ่งออกเป็น 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคใต้ ซึ้งแต่ละภาคใช้ภาษาถิ่น และแต่ละถิ่นใช้ภาษาที่แตกกันออกไปอีก ยกตัวอย่างเช่น ภาคอิสาน  ... ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาอิสาน ภาษาพวน ภาาาไทแดง เป็นต้น แต่ละภาษาก็บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของแต่ละที่ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี ภาษากลาง เพื่อพูดคุย สื่อสารกันได้ โดยไม่ทิ้งภาษาถิ่นดั่งเดิมของตัวเอง

กิจกรรมวันนี้ให้นักศึกษา พูด ภาษาถิ่นคนละ 1 คำ


อามีน-สาธุ (ภาษาอิสลาม)
เจทส์-นก(ภาษาส่วย)
เอียด-เมือก ไม่สบายตัว(ภาษาใต้)
กระด่อกระเดี้ย-อะไรกันนักกันหนา(ภาษาใต้)
ระเหะ-บ้า(ภาษาอิสาน)
สารถี-คนขับรถ(ภาษากลาง)
พีเระ-อะไรนะ(ภาษาภูไท)
เต้อ-ใต้(ภาษาพวน)
อ้อล้อ-ขี้เล่น ตอแหล แรด(ภาษาใต้)
ม๊ะน้อแน้-น้อยหน่า(ภาษาเหนือ)

ในฐานะที่เราเป็นคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนๆ จงภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชนรุ่นหลังสืบต่อไป




กิจกรรมแต่งเพลง ประกอบท่าทาง


ชื่อเพลง ตาวิเศษณ์

ตาฉันนี่วิเศษณ์จริง         มองดูกันให้ดี ดี

  มองเห็นอะไรละนี่                                    ดูดี ดี มองเห็น...โอ๊ะ.....(ปากกา)




เพลงนี้  สะท้อนให้ถึงการมองเห็นของตาเรา ว่าตามองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้



เพลงเก็บเด็ก หรือ ที่ใช้กับเด็กปฐมวัย

เพลง "แมงมุมลาย"
เนื้อเพลง:
แมงมุมลายตัวนั้น ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน        วันหนึ่งมันถูกฝน ไหล่หล่นจากบนหลังคา
พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลับตา           มันรีบไต่ขึ้นฟ้า หันหลังมาทำตาลุกวาว
                                                                  เพลงโรงเรียนของเราน่าอยู่

เนื้อเพลง
โรงเรียนของเราน่าอยู่ .. คุณครูใจดีทุกคน ..
เด็กๆก็ไม่ซุกซนพวกเราทุกคนชอบไปโรงเรียน ชอบไป ชอบไป โรงเรียน


วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่4กรกฎาคม2555


การณ์จัดประสบการภาาาสำหรับเด็กปฐมวัย
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักคือ

1.เด็กปฐมวัย
...พัฒนาการเด้กปฐมวัย
...วิธีการเรียนรู้ >การกระทำผิด-ถูก สัมผัสที่5(ตา หู จมูก ลิ้น ร่างกาย) >การเล่นอย่างอิสระ
...พัฒนาการ >ทฤษฎี>เพียร์เจ:บลูเนอร์
2.เตรียมเทคนิควิธี
...เกม >ประสบการณ์> สื่อ> อุปกรณ์
     2.1.วางแผน
...วัตถุประสงค์> สาระสำคัญ> ประสบการณ์สำคัญ> กิจกรรม> สื่อ> การประเมินผล
3.ภาษา
...เครื่องมือสื่อสารใช้ในชีวิตประจำวัน (ฟัง พูด อ่าน เขียน)


เด็กปฐมวัย : เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์
      การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของบุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ เพราะเด็กในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์แม่จนถึง 4 ปี ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด (ประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่) การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีจะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี เฉลียวฉลาด คิดเป็น ทำเป็น และมีความสุข เด็กปฐมวัยจะมีชีวิตรอดและเติบโตได้ก็ด้วยการพึ่งพาพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตราย หากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดูโดยเข้าใจเด็กพร้อมจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เปลี่ยนไปตามวัยได้อย่างเหมาะสมให้สมดุลย์กันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคมแล้ว เด็กจะเติบโตแข็งแรงแจ่มใส มีความมั่นคงทางใจ รู้ภาษา ใฝ่รู้ และใฝ่ดี พร้อมที่จะพัฒนาตนเองในขั้นต่อไป ให้เป็นคนเก่งและคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีประโยชน์